วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ททท. ราชบุรี ร่วมกับ สทน. และ ทัวร์คุณชาย จัดกิจกรรม ศรัทธานำทาง "ถวายเทียนพรรษา 9 วัด ประจำปี 2566" เส้นทาง สวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

ททท. ราชบุรี   ร่วมกับ สทน. และ ทัวร์คุณชาย จัดกิจกรรม ศรัทธานำทาง 

"ถวายเทียนพรรษา 9 วัด ประจำปี 2566" 

เส้นทาง สวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี










การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานราชบุรี (นครปฐม-ราชบุรี) นำโดยนางสาวปิยพัชร์ วงศ์โดยหวัง ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานราชบุรี ร่วมกับ สมาคมธุรกิจท่องเกี่ยวภายในประเทศ (สทน.) นำโดยนายชัยพฤกษ์ ทองคำ นายก สทน. และทัวร์คุณชาย นำโดยคุณลลิตา ขันแข็ง จัดกิจกรรม "ศรัทธานำทาง  ถวายเทียนพรรษา 9 วัด ประจำปี 2566"  เส้นทาง สวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี โดยมี อาจารย์กอล์ฟ เป็นมัคคุเทศก์กิตติมศักดิ์ ที่จะมาเล่าเรื่องราวประวัติของแต่ละวัดสอดแทรกตลอดการเดินทาง และนำกราบไหว้พระอย่างถูกวิธีและเหมาะสม เพื่อเสริมบารมี ความเป็นสิริมงคล เจริญก้าวหน้า ให้สถิตอยู่กับตัวเองและครอบครัวอย่างยั่งยืนตลอดไป

คณะพร้อมกันแล้วก็ออกเดินทางๆ ไปจังหวัดราชบุรีกันเลย เริ่มจาก "วัดกลางคลองข่อย" ต.คลองข่อย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เป็นวัดแรก วัดนี้สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ได้พายเรือมาตามลำน้ำแม่กลอง และมาปักกลดจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ซึ่งอยู่ติดริมแม่น้ำแม่กลอง ภายในวัดมีพระรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี องค์ใหญ่ สูง 5.30 เมตร หน้าตักกว้าง 4 เมตร ประดิษฐานใต้ต้นโพธิ์ และพระยืนโบราณปางอุ้มบาตร ที่สมเด็จพุฒจารย์โตจัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2375 หรือสมัยรัชกาลที่ 4  ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูน สูง 16 ศอก หันหน้าสู่แม่น้ำให้เหล่าเทพเทวาและมนุษย์สักการะประจำทางด้านทิศตะวันตก แกนกลางขององค์พระมีเสาไม้ตะเคียนทั้งต้น จำนวน 4 ต้น เป็นแกนกลางอยู่ภายในแล้วก็ทำการก่ออิฐถือปูน แต่สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต) ท่านได้สร้างไม่เสร็จสร้างได้เพียงแค่คอท่านนั้น และให้ชาวบ้านได้สร้างต่อกันเอง กาลเวลาผ่านไป พระยืนองค์นี้ชำรุดหักพัง (พระเศียรแตกร้าว พระกรทั้งสองข้างหัก) พระจารย์อวน พรฺหมฺสโร วัดมหาธาตุกรุงเทพ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในถิ่นนั้น ย้ายมาอยู่วัดกลาง ได้เป็นประธานจัดการบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อปีมะแม พ.ศ.2474 จนกระทั่งการบูรณะครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2516 หลีงกราบสักการพระยืนและสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี องค์ใหญ่ขอพรเป็นสิริมงคลแล้ว คณะเราก็ร่วมกันถวายเทียนจำนำพรรษา โดยมีพระครูสังฆรัตน์ สุเทพ เสเทโว เจ้าอาวาสวัดกลางคลองข่อย เป็นผูัทำพิธีรับมอบเทียนจำนำพรรษา  อีกทั้งคณะเรายังร่วมกันทำบุญถวายปัจจัยอีกจำนวน 4,889 บาท



ต่อด้วยการถวายเทียนจำนำพรรษา "วัดตึกหิรัญราษฎร์" ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม  จังหวัดราชบุรี  เป็นวัดที่ 2 วัดแห่งนี้สันนิษฐานคาดว่าวัดสร้างขึนเมื่อปี พ.ศ.2468 โดยก่อนหน้านี้ ก่อนที่จะตั้งเป็นวัดหรือสำนักสงฆ์ รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลราชบุรี ในปี 2438 พระองค์เคยมาประทับที่ตึกหรือวังหลัง (ปัจจุบันคือหอสวดมนต์) หลังจากนั้น ผู้ติดตามรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้น จึงได้ขอที่บริเวณนี้สร้างเป็นสำนักสงฆ์และใช้ชื่อว่า "วัดตึก" ต่อมาชาวบ้านได้มอบหินก้อนใหญเพื่อสร้างศาสนะต่างๆ บริเวณวัด จึงเรียกว่า "วัดหินราษฎร" เมื่อปี พ.ศ. 2541 วัดได้เสนอเปลี่ยนชื่อเป็น วัดตึกหิรัญราษฎร์ เพื่อขอวิสุงขามสีมา และใช้ชื่อนี้ จนถึงปัจจุบัน ในอดีตถือว่าวัดนี้เป็นสำนักตักศิลาแห่งหนึ่งซึ่งขึ้นชื่อลือชาว่ามีเกจิอาจารย์ดังหลายองค์ อาทิ หลวงปู่อ่อน อินทสุวณฺโณ ปฐมเจ้าอาวาส,หลวงปู่เหลือบ วรธัมโม ฯลฯ ภายในวัดมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์และศาสนสถานสำคัญๆ ได้แก่ พระพุทธหิรัญ สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2510 เป็นพระพุทธปางยืน ความสูงประมาณ 5 - 6 เมตร ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าวิหารบูรพาจารย์, วิหารบูรพาจารย์ สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2508 ภายในมีพระพุทธรูปต่างๆ ที่สำคัญ คือ พระรูปเหมือนอดีตท่านเจ้าอาวาสรูปก่อนๆ เช่น หลวงปู่อ่อน อินทสุวณฺโณ ปฐมเจ้าอาวาส, หลวงปู่เหลือบ วรธัมโม ฯลฯ, พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) ตั้งอยู่ด้านหน้าวัด สร้างขึ้นปี พ.ศ. 2524 โดยมีความยาวประมาณ 5 - 6 เมตร, ตึกหรือวังหลัง ตึกเก่าที่ปัจจุบันกลายเป็นหอสวดมนต์ ซึ่งมีมาก่อนที่จะสร้างวัด รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลราชบุรี ในปี พ.ศ. 2438 พระองค์เคยมาประทับที่ตึกหรือวังหลังแห่งนี้ และเป็นที่มาของชื่อวัด ณ สมัยนั้น, พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดคงคาราม เคยเป็นกุฏิสร้างในสมัยกรุงธนบุรี เป็นเรือนไทย โดยพระครูสันตยาภิรัต เจ้าอาวาส ได้บูรณะซ่อมแซมขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2540 และเห็นว่าชาวบ้านได้นำวัตถุสิ่งของและศิลปะ รวมถึงของมีค่าต่างๆ มาถวาย ท่านจึงได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ และได้ขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากรเมื่อ พ.ศ. 2542, วิหารพระหยกขาว ตั้งอยู่ถัดไปจากพิพิธภัณฑ์ ภายในมีพระพุทธรูปต่างๆ มากมาย รวมถึงพระหยกขาว ให้กราบสักการะ และศาลพระโพธิสัตว์กวนอิม สูงประมาณ 3 เมตร ที่อยู่ด้านหลังของวัด ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างขึ้นมาเมื่อใด เมื่อชมศาสนสถานและกราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคุญแล้ว คณะเราก็ร่วมกันถวายเทียนจำนำพรรษา โดยมีพระครูสันตยาภิรัต เจ้าอาวาสวัดวัดตึกหิรัญราษฎร์ เป็นผูัทำพิธีรับมอบเทียนจำนำพรรษา  พร้อมด้วยพระอาจารย์กำพล อตฺถกาโม หรือพระอาจารย์น็อต หลวงพี่ที่มีวิชาอาคมแก่กล้าที่เป็นที่นับถือของชาวบ้านและประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธามาร่วมในพิธีด้วย ที่วัดนี้คณะเราก็ร่วมกันทำบุญถวายปัจจัยอีกจำนวน 3,900 บาท หลังจากทำพิธีเสร็จเกิดปรากฎการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดี




ตามด้วยวัดที่สาม "วัดสนามชัย" ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี คณะเราก็ร่วมกันถวายเทียนจำนำพรรษา โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผูัทำพิธีรับมอบเทียนจำนำพรรษา  และยังร่วมกันทำบุญถวายปัจจัยอีกจำนวน 3,550 บาท



ต่อด้วย "วัดอรัญญิกาวาส" ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เป็นวัดที่สี่ สร้างมาแต่สมัยขอม ประมาณศตวรรษที่ 10 ถึง 16 เดิมชื่อ "วัดเจริญธรรมวิหาร" ภายในวัดมีพระปรางค์ขนาดใหญ่ สูงประมาณ  40 เมตร และปรางค์เล็กแบบบัวผัน 4 มุม หลังพระปรางค์มีพระนอน ทำด้วยหินแดงก้อนใหญ่ๆ เรียงก่อเป็นรูปพุทธบรรทมตะแคงขวา ยาวประมาณ 6 เมตร ส่วนพระพุทธไสยาสน์สร้างเมื่อ พ.ศ. 2030–2035 มีความยาว 15 วา ทำการบูรณะซ่อมแซมโดยการสร้างครอบองค์จริง มีความยาว 30 วา รอบองค์พระปรางค์ยังล้อมรอบไปด้วยระเบียงคด ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายศิลปะอยุธยา พระพุทธรูปหินแดงสมัยลพบุรี ประดิษฐานอยู่โดยรอบ จำนวน 41 องค์ ที่วัดนี้ยังมีเจดีย์ทรงระฆังกลม ศิลปะแบบลังกา อีกสององค์อยู่ทางด้านหน้าของวัด และอุโบสถเก่า ขนาดกว้าง 7 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2438 โดยพระยาธรรมจรัญญานุกูลมนตรี (จำเริญ บุรณศิริ) ภายในอุโบสถมีพระประธานปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปปั้น ถือปูนปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก สูง 6 ศอก สันนิษฐานว่าภายในองค์พระประธานนี้จะมีพระพุทธรูปหินแดงสมัยลพบุรีประดิษฐานอยู่ นอกจากนี้ยังมีสระน้ำสาธารณะโบราณรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธา ตั้งอยู่ทางด้านหลังองค์พระพุทธไสยาสน์ หลังจากกราบสักการะพระพุทธไสยาสน์แล้ว คณะเราก็ร่วมกันถวายเทียนจำนำพรรษา โดยมีพระมหาณัฐชัย อภิวฑฺฒโน เจ้าอาวาสวัดอรัญญิกาวาส เป็นผูัทำพิธีรับมอบเทียนจำนำพรรษา พร้อมร่วมกันทำบุญถวายปัจจัยอีกจำนวน 3,100 บาท




แล้วก็ถีง "วัดวังน้ำเขียว" ตำบลท่าเคย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี วัดที่ห้าของวันนี้ พระครูพิทักษ์อรัญเขต เจ้าอาวาสวัดวังน้ำเขียว เป็นผูัทำพิธีรับมอบเทียนจำนำพรรษาจากคณะเรา และคณะเราก็ร่วมกันทำบุญถวายปัจจัยอีกจำนวน 3,760 บาท



คณะเราทำบุญถวานเทียนจำนำพรรษาวันนี้ตั้งแต่เช้าถึงเย็น  5 วัด ได้บุญกันทั่วหน้าก็เดินทางไปพักผ่อนกันที่ "อู่หลง รีสอร์ท"  ตกเย็นก็สังสรรค์ย้อนวัย กลับไปสู่วัยเรียน ด้วยธีมแฟนซีชุดนักเรียน คณะเราต่างแต่งตัวชุดนักเรียน ชุดลูกเสือ เนตรนารี และครูบาอาจารย์ มาประชันขันแข่งกันอย่างสนุกสนานสุดเหวี่ยง

สำนักสงฆ์หัวสาม" ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี วัดที่หก ที่วัดนี้คณะเราก็ร่วมกันทำบุญถวายปัจจัยอีกจำนวน 4,400 บาท



ต่อด้วยการถวายเทียนจำนำพรรษา "สำนักสงค์เริ่มชัย" ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เป็นวัดที่เจ็ด พร้อมร่วมกันทำบุญถวายปัจจัยอีกจำนวน 3,655 บาท




ก่อนถวายเทียนจำนำพรรษา คณะเราแวะเดินเล่น ช้อปปิ้ง และเซลฟี่ถ่ายรูปกันที่ "ตลาดโอ๊ะป่อย" ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี คำว่า "โอ๊ะป่อย" มาจากภาษากะเหรี่ยงแปลว่าพักผ่อน ตลาดแห่งนี้เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของผู้ประกอบการ ชุมชน วัด โรงเรียน และภาครัฐท้องถิ่น เราม่งหมายที่รังสรรค์สิ่งที่ดีสุดเพื่อความยั่งยืนแก่ชุมชน ด้วยความรัก เคารพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม รวมถึงผู้คน เป็นตลาดเช้าอยู่ติดริมลำธารภาชี สัมผัสอาหารพื้นถิ่นและของดีอำเภอสวนผึ้ง อาทิ ชาดาวอินคา เมี่ยงถั่วดาวอินคา อั้งหมี่ถ่อง (หรือกินข้าวห่อ) ข้าวแดกงา ข้าวยำสมุนไพร ขนมจีนน้ำยาหยวก ข้าวเหนียวปิ้ง ข้าวเหนียวหมู ผัดไทย ไก่อบโอ่ง ยำผักกูด ขนมครก ขนมบ้าบิ่น ขนมเบื้อง และได้อุดหนุนสินค้าผลิตภัณฑ์ งานทำมือของชุมชน ซื้อเป็นของฝาก ส่วนที่เป็นไฮไลท์ของที่นี่ที่ไม่ควรพลาดคือ การใส่บาตรพระสงฆ์ที่ล่องแพไม้ไผ่มาตามลำน้ำภาชี ระหว่างเวลา 7.30-8.00 น. เป็นภาพประเพณีวัฒนธรรมที่สวยงาม และเป็นศิริมงคลแก่ผู้มาเยือน ซึ่งชุดใส่บาตรสามารถอุดหนุน ทำบุญให้กับเด็กนักเรียนโรงเรียนท่ามะขามบาตร ที่นำมาจำหน่าย  คณะเราได้ทานอาหารพิ้นถิ่น อุดหนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน ถ่ายภาพเซลฟี่ช่างอิ่มเอมใจ มีความสุข กลับไปพร้อมรอยยิ้ม ที่ได้มาเยือน



หลังช้อปจนพอใจ คณะเราก็บุญถวานเทียนจำนำพรรษากันต่อที่ "วัดท่ามะขาม" ตรงข้ามตลาดโอ๊ะป่อย วัดที่แปด เป็นวัดป่าหนึ่งเดียวที่มีบทบาทในเชิงสังคมและวัฒนธรรมต่อชุมชนสวนผึ้งและตะนาวศรีเป็นอย่างมากทั้งในแง่ความเป็นหนึ่งเดียวกันของผู้คน ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ก่อตั้งเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2518 โดยหลวงพ่อบุญเลิศ (พระอาจารย์บุญเลิศ ธมมธีโป) วัดป่าท่ามะขามดำเนินกิจกรรมด้านการสืบทอดพระพุทธศาสนาผ่านกิจกรรมปฏิธรรมของญาติโยม การทำบุญ ด้านสังคม วัดป่าท่ามะขามให้การอนุเคราะห์เยาวชนและสมาชิกชุมขนในพื้นที่ทั้งในด้านทุนการศึกษา การอบรมทักษะวิชาชีพ รวมทั้งดำเนินโครงการที่ภาครัฐให้การสนับสนุนเพื่อสร้างสรรค์ชุมชนให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น คณะเราก็ร่วมกันถวายเทียนจำนำพรรษา โดยมีพระอาจารย์บุญเลิศ ธมมธีโป เจ้าอาวาสวัดท่ามะขาม เป็นผูัทำพิธีรับมอบเทียนจำนำพรรษา ที่วัดนี้คณะเราก็ร่วมกันทำบุญถวายปัจจัยอีกจำนวน 3,690 บาท พร้อมมอบทุนการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนด้วย



แล้วก็ถึงวัดสุดท้าย "วัดมะขามเอน" ตำบลท่าเคย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี วัดที่เก้า โดยมีพระอธิการณัฐพล กมฺพโล เจ้าอาวาสวัดมะขามเอน เป็นผูัทำพิธีรับมอบเทียนจำนำพรรษา และยังร่วมกันทำบุญถวายปัจจัยอีกจำนวน 9,999 บาท

สรุป การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานราชบุรี (นครปฐม - ราชบุรี) สมาคมธุรกิจท่องเกี่ยวภายในประเทศ (สทน.) และทัวร์คุณชาย รวมทั้งผู้มีศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนา ร่วมกันทำบุญ "ศรัทธานำทาง  ถวายเทียนพรรษา 9 วัด ประจำปี 2566" เส้นทาง สวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี พร้อมร่วมถวายปัจจัยทั้ง 9 วัด เป็นจำนวนยอดรวมทั้งหมด 40,953 บาท สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี อิ่มบุญ อิ่มใจ กันทั่วหน้า


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สำนักงานตำรวจแห่งชาติปิดการแข่งขัน Royal Thai Police SWAT Challenge 2024 “หนุมานกองปราบ” คว้าทีมชนะเลิศ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติปิดการแข่งขัน Royal Thai Police SWAT Challenge 2024  “หนุมานกองปราบ” คว้าทีมชนะเลิศสุดยอดทีมปฏิบัติการพิเศษ เตรียมไปแข่...